วันที่ 9 พฤศจิกายน 2566 เวลา 16:48 น.
กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง (CIB) โดย กองบังคับการตำรวจทางหลวง (บก.ทล.) และสำนักงานตรวจคนเข้าเมือง จ.สุพรรณบุรี ร่วมกันจับกุมชายไทย อายุ 29 ปี และชาวต่างด้าว 12 คน โดยจับกุมได้บริเวณทางหลวงหมายเลข 333 กม.72-73 ต.วังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี พร้อมด้วยของกลางมี
1. รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่น รีโว่ สีเทา จำนวน 1 คัน
2. กุญแจรถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่น รีโว่ สีเทา จำนวน 1 ดอก
3. โทรศัพท์มือถือ ยี่ห้อ oppo สีน้ำเงิน จำนวน 1 เครื่อง
พฤติการณ์ สืบเนื่องจาก ส.ทล.6 กก.2 บก.ทล. ได้มีการสืบสวนจับกุมขบวนการนำพาหรือช่วยเหลือบุคคลแรงงานต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมายในเส้นทางพื้นที่ จ.สุพรรณบุรี อยู่บ่อยครั้ง จึงได้มีการสืบสวน
ถึงเส้นทางที่มีการลักลอบขนคนต่างด้าวผิดกฎหมายเข้ามาในพื้นที่ กทม. และ ปริมณฑล ที่ผ่าน จ.สุพรรณบุรี โดยสืบทราบว่าเมื่อวันที่ 8 พ.ย.2566 จะมีการลักลอบนำพาบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรโดยผิดกฎหมาย โดยใช้เส้นทางต้นทางจาก ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก - จ.กำแพงเพชร - อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี - แยกบ้านไร่ จ.อุทัยธานี- ทล.333 เมื่อมาถึง จ.สุพรรณบุรี จะใช้เส้นทางหลวง 333 ด่านช้าง – อู่ทอง
ต่อมารถวิทยุตรวจการณ์ หมายเลขข้าง 2604 และ 2618 ออกตรวจสังเกตุการณ์ในเขตพื้นที่ตามที่ได้รับข้อมูล ได้พบ รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง ยี่ห้อ โตโยต้า รุ่น รีโว่ สีเทา ซึ่งตามข้อมูลเป็นรถยนต์นำพาบุคคลต่างด้าว ขับขี่มาตามถนนด่านช้าง - อู่ทอง ทางหลวงหมายเลข 333 ซึ่งลักษณะรถบรรทุกสิ่งของหนัก โดยสังเกตุรถยนต์มีน้ำหนักมากกว่ารถยนต์ปกติ สอดคล้องต้องสงสัยว่ามีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับการขนย้ายแรงงานต่างด้าว จึงได้ขับขี่ติดตามรถยนต์คันดังกล่าวในระยะประชิด และได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจโดยให้สัญญาณเจ้าพนักงานจราจร ด้วยการเปิดสัญญาณไฟไซเรน และใช้สัญญาณเสียงรวมถึงการพูดออกคำสั่งผ่านไมโครโฟน เพื่อให้รถคันดังกล่าวหยุดและจะได้ทำการตรวจค้น เมื่อรถคันดังกล่าวพบเห็นรถยนต์ตรวจการณ์ของเจ้าหน้าที่ตำรวจขับติดตามมาและได้เห็นสัญญาณไฟรวมถึงได้ยินเสียงคำสั่งเจ้าหน้าที่สั่งให้หยุดรถ จึงได้หยุดรถตรงบริเวณถนนทางหลวงหมายเลข 333 ด่านช้าง - อู่ทอง กม.73-73 ม.4 ต.วังคัน อ.ด่านช้าง จ.สุพรรณบุรี
จากการตรวจค้นปรากฏว่าพบผู้ต้องหาที่ 1 เป็นชายไทยอายุ 29 ปี แสดงตนเป็นผู้ขับขี่รถยนต์คันกล่าว จากนั้นเจ้าหน้าที่ตำรวจชุดจับกุม จึงได้แสดงตัวเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจเพื่อขอเข้าทำการตรวจค้น ซึ่งก่อนทำการตรวจค้นเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกนายได้แสดงความบริสุทธ์ใจให้ ผู้ต้องหาดูจนเป็นที่พอใจ ก่อนตรวจค้นตัวซึ่งไม่พบสิ่งของผิดกฎหมาย และได้ทำการตรวจค้นภายในรถยนต์คันดังกล่าว ปรากฎว่าพบผู้ต้องหาที่ 2-13 นั่งอยู่ภายในรถบริเวณด้านหน้าและที่นั่งด้านหลังผู้ขับขี่ภายในรถยนต์คันดังกล่าว จึงได้ให้ผู้ต้องหาที่ 2-13 แสดงเอกสารหลักฐานประจำตัว ตรวจสอบไม่พบเอกสารยืนยันตัวตนที่ราชการออกให้ สอบถามผู้ต้องหาที่ 2-13 ไม่สามารถสื่อสารหรือพูดภาษาไทยได้ จึงได้ตรวจสอบเอกสารโดยละเอียด จากการตรวจสอบปรากฏว่าทั้งหมดไม่มีหนังสือเดินทางหรือเอกสารใช้แทนหนังสือเดินทางแต่อย่างใดมาแสดงต่อเจ้าหน้าที่ จากการสอบถามผู้ต้องหาที่ 1 ให้การรับสารภาพว่า ได้เดินทางติดตามผู้ขับรถนำมารับบุคคลต่างด้าวที่ป่าแห่งหนึ่งใน ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก ซึ่งมีชายไทย ไม่ทราบชื่อ-สกุลจริง ติดต่อทางโทรศัพท์ (จำหมายเลขโทรศัพท์ไม่ได้) ให้ไปรับผู้ต้องหาที่ 2 - 13 ในบริเวณดังกล่าว และเดินทางจนมาส่งปลายทางที่จังหวัดสุพรรณบุรี (จังหวัดที่ถูกจับกุม) ซึ่งจากข้อมูลที่ผู้ต้องหาให้การนั้นตรงกันกับข้อมูลการสืบสวนและให้การรับว่าปลายทางการขนย้ายบุคคลต่างด้าวในครั้งนี้มุ่งหน้าไปส่งบุคคลต่างด้าวปลายทางที่ จ.สุพรรณบุรี ซึ่งจะมีการ ติดต่อการขนย้ายบุคคลต่างด้าว โดยมีชายไทย ไม่ทราบชื่อ-สกุลจริง ติดต่อทางโทรศัพท์แจ้งให้ไปรับที่ป่าแห่งหนึ่งใน ต.แม่ท้อ อ.เมือง จ.ตาก สถานที่ต้นทาง ซึ่งจะมีบุคคล ไม่ทราบชื่อ-สกุล พาบุคคลต่างด้าว มาขึ้นรถที่ตนนำไปรับ เมื่อใกล้ถึงปลายทาง จะมีชาย ไม่ทราบชื่อ-สกุลจริง จะโทรติดต่อกันอีกครั้ง โดยการลักลอบขนย้ายบุคคลต่างด้าวในครั้งนี้ มีรถที่ร่วมขบวนการขนย้ายบุคคลต่างด้าวจำนวน 2 คัน เป็นรถนำเพื่อดูเส้นทางหลบหนีและจุดสกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ จำนวน 1 คัน และเป็นรถที่ใช้ขนย้ายแรงงานต่างด้าว จำนวน 1 คัน จนกระทั่งถูกจับกุม ส่วนรถยนต์คันที่ดูเส้นทางหลบหนีจุดสกัดของเจ้าหน้าที่ตำรวจ โดยการลักลอบขนย้ายบุคคลต่างด้าวในครั้งนี้ มีการติดต่อสื่อสารกันผ่านโทรศัพท์มือถือ ซึ่งมีชายไทย ไม่ทราบชื่อ-สกุลจริง เป็นผู้ขับขี่ฯ การเดินทางจะใช้เป็นการขับขี่ตามกันมาโดยการทิ้งระยะห่างเป็นช่วงๆห่างประมาณ 1-2 กม. ผู้ต้องหาที่ 1 รับว่าได้ลักลอบขนย้ายบุคคลต่างด้าวครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 ได้ค่าตอบแทนเป็นเงินจำนวน 10,000 บาท (หากเสร็จสิ้นการขนย้ายบุคคลต่างด้าว) โดยผู้จ้างวานให้ขนย้ายบุคคลต่างด้าวในครั้งนี้ ผู้ต้องหาที่ 1 ให้การว่า ไม่ทราบว่าเป็นชายหรือหญิง จำนวนกี่คน และไม่ทราบชื่อ-สกุลจริง
จากการสอบถามโดยมี นายลาวินทาย อาสาสมัครล่าม แปลภาษาเมียนมาฯ ในการสอบถาม ผู้ต้องหาที่ 2 – 13 ให้การยอมรับว่า ได้เดินทางมาจาก เมืองเมียวดี ประเทศเมียนมา เข้ามาทางช่องทางธรรมชาติ จ.ตาก จากนั้นเดินเท้าต่ออีกประมาณ 30 นาที และจะมีรถยนต์กระบะมารับที่บริเวณป่ารกชัฎ เพื่อเดินทางต่อไป โดยจะมีการเปลี่ยนรถยนต์รับส่งเป็นช่วงๆ โดยปลายทางมุ่งหน้า จ.สุพรรณบุรี ซึ่งบุคคลต่างด้าวทั้งหมด มีการติดต่อกับนายหน้าฝั่งประเทศไทยและประเทศเมียนมาหลายคน โดยผู้ต้องหาที่ 2 - 13 จะต้องจ่ายเงินเป็นค่าการเดินทางเข้ามาในประเทศไทย จำนวนประมาณ 14,000 - 14,000 โดยได้จ่ายเงินให้นายหน้าชาวเมียนมาเป็น ผู้รวบรวมเงินจากฝั่งประเทศเมียนมาก่อนออกเดินทางหลบหนีเข้าประเทศไทย
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม จึงแจ้งให้ทุกคนทราบว่า การกระทำดังกล่าวมีความผิด จะต้องถูกจับกุมโดยแจ้งข้อกล่าวหาว่า ผู้ต้องหาที่ 1 “ช่วยเหลือซ่อนเร้นหรือช่วยด้วยประการใดๆ ให้บุคคลต่างด้าวที่หลบหนีเข้ามาในราชอาณาจักรไทยโดยผิดกฎหมาย” ผู้ต้องหาที่ 2 – 13 กระทำความผิดฐาน “เป็นบุคคลต่างด้าวหลบหนีเข้ามาและอยู่ในราชอาณาจักรไทยโดยไม่ได้รับอนุญาต” และได้ควบคุมตัวทั้งหมดมาทำบันทึกจับกุม และได้นำตัวผู้ต้องหา พร้อมด้วยของกลาง ส่ง พงส.สภ.ด่านช้าง เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น รับสารภาพตลอดข้อกล่าวหา
1 กุมภาพันธ์ 2568
1 กุมภาพันธ์ 2568